•3/18/2552


งานธนาคาร

สำหรับ คนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีพื้นฐานฐานะที่ร่ำรวยนัก แต่อยากไขว่ขว้าเอาความสำเร็จด้านการเงินมาครอบครอง พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "มุมมองใหม่กำไรชีวิต" ได้ให้เคล็ดลับที่สามารถใช้ได้จริงไว้แล้ว


ตั้งเป้ากับแรงปรารถนา

อย่าใช้ชีวิตเป็นเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล ให้กำหนดจุดเป้าหมายให้ชัดเจนในชีวิต ว่าคุณจะเกษียณแบบไหน หรือจะเกษียณก่อนเวลาในอายุเท่าไรดี โดยเฉพาะด้านอาชีพการงานเพราะค่อนข้างเกี่ยวกับเรื่องการเงิน คุณควรตั้งเป้าว่าอีกกี่ปีจะออกมาทำกิจการต้องตนเอง หรืออีกนานเท่าไรคุณถึงจะได้เป็นหัวหน้า ที่จะทำให้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น และเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตได้

เริ่มตัดสินใจวางแผน

จากการเงินที่คุณมีอยู่นี้ ต้องเริ่มคิดได้แล้วว่าจะลงทุนทำอะไรบ้าง หรือจะเริ่มเก็บออมจำนวนเงินเท่าไรต่อเดือน วางแผนว่าจะทำอย่างไรที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
แม้ว่าคุณจะต้องเสียเวลา การเดินทาง หรือเงินทองไปบ้าง แต่ถ้ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงคุณก็ต้องเริ่มตัดสินใจตั้งแต่วันนี้ นอกจากนี้การตัดสินใจมักจะควบคู่กับการเสียสละ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนสถานะให้จริงจังกับหน้าที่การงานมากขึ้น เพื่อบรรลุแผนที่ตั้งมั่นไว้ตั้งแต่ต้นด้วย

อุตสาหะอดกลั้น

ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่ายคุณจะต้องอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ ที่คุณเคยได้และเคยมี แน่นอนว่าอุปสรรคขวากหนามจะเข้ามาเยี่ยมคุณไม่ขาดสาย แต่อยากให้รู้ว่าทุกสิ่งก็คือบทเรียน ความอดกลั้นคือชัยชนะ ที่จะนำพาให้คุณและครอบครัวก้าวเข้าสู่ความสำเร็จทางการเงินได้อย่างงดงาม สิ่งสำคัญคืออย่าให้ปัญหาเข้ามามีบทบาทกับอารมณ์ของคุณ เพราะเมื่ออารมณ์คุณพลุ่งพล่านอาจจะทำให้ตัดสินใจอะไรผิดๆ ก็ได้ ทางที่ดีตั้งสติกับปัญหา และหาวิธีแก้ไขในสถาน การณ์นั้นๆ จะดีกว่า

มีวินัยบังคับตนเอง

การมีวินัยคือความสม่ำเสมอในการบังคับตัวเอง ให้อยู่ในกรอบที่เราเองเป็นผู้วางแผนเอาไว้ ไม่ใช่เดือนหนึ่งประหยัดอีกเดือนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเหมือนเดิม หรือว่าปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้แตกต่างไปจากเดิม อย่างเช่น การตื่นไปทำงานให้เช้าขึ้น กำหนดค่าใช้จ่ายประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกฝนตัวเองในสายงานที่มีอยู่ ให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานที่เราทำ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง

ที่มา : www.lisathailand.com

•3/18/2552


งานธนาคาร

หลาย ท่านคงเคยประสบกับปัญหาว่ายอดเงินในบัตรไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายที่เราใช้งาน จริง แล้วก็เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะต้องไปติดต่อธนาคาร ซึ่งเสียเวลาและก่อให้เกิดความรำคาญใจอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ ทาง JobsDB ขอเสนอ มาตรการความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิต ดังนี้ค่ะ

หลีก เลี่ยงการใช้ Password ร่วมกับบริการอื่น ๆ ที่ให้บริการผ่าน Internet เช่น การซื้อของผ่าน Internet หรือ Free E-mail หรือบริการใด ๆ ที่ต้องสมัครและให้กรอก Password ผ่าน Internet เป็นต้น

  1. ไม่เปิดเผย Username และ Password ให้บุคคลอื่นทราบ
  2. เปลี่ยน Password ทันทีหลังจากเข้าใช้ครั้งแรก และควรเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันมิให้สามารถเข้าใช้งานได้ในกรณีที่ถูกขโมยบัตรไป
  3. หลังการใช้งานในการใช้จ่ายต่าง ๆ บน Internet หรือที่ใดก็ตาม ควรจะ Log Off ออกจากระบบทุกครั้ง
  4. ล้างข้อมูลใน Browser ทุกครั้ง หลังการใช้งานบัตรเครดิต โดยเข้าไปล้างที่ Cache
  5. หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือทางการเงิน ให้กับ Website ที่ไม่น่าเชื่อถือ
  6. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสาธารณะ หรืออุปกรณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงิน ทางที่ดีควรจะเป็นเครื่องส่วนบุคคล
  7. ป้องกันมิให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวติด Virus หรือโปรแกรมที่ไม่น่าเชื่อถือ
  8. ให้ Disable “File and Printer Sharing” เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่น ๆ เข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้
  9. หมั่นตรวจสอบรายการธุรกรรมทางการเงินและยอดเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
  10. แจ้งธนาคารทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของท่าน เช่น ข้อมูลที่อยู่อาศัย, E-mail Address เป็นต้น
  11. แจ้งธนาคารทันทีที่มีปัญหาในการใช้งาน

เท่า นี้ทุกท่านก็ปลอดภัยจากการใช้งานบัตรเครดิตบน Internet ได้ และหลีกเลี่ยงปัญหาการถูกโจรกรรมทางการเงิน และความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้วล่ะค่ะ

•3/18/2552


งานธนาคาร

ท่าน ผู้อ่านหลายท่านในขณะนี้คงกำลังบริหารเงินสดทั้งภายในบริษัทหรือภายในบ้าน ของตัวเองอย่างเคร่งเครียด JobsDB มีเคล็ดลับการบริหารเงินสดมาช่วยให้ทุกท่านไม่ปวดหัวว่าควรจะเบิกเงินสด เท่าไร จ่ายออกไปเท่าไรดี และควรจ่ายเมื่อไร

การ บริหารเงินสดที่ดี และมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดจำนวนเงินที่ถือเอาไว้ลงมาได้มาก ซึ่งเงินเหล่านี้ไม่อาจงอกเงยได้เลยเนื่องจากจะต้องนำไปจ่ายเพื่อซื้อของ ต่าง ๆ รวมถึงการชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น JobsDB จึงมี Tips มาแนะนำ 3 ประการ คือ


  • กำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม
  • การจัดเก็บเงินสด การจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลงทุนเงินสดส่วนเกินเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด

1. การกำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม

ผล ประโยชน์ของการมีเงินสดในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอก เบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย โดยมีข้อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการถือเงินดังนี้ คือ

  • ใช้ ในการดำเนินการธุรกิจประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ภาษี เงินปันผล ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง เงินเดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ
  • รอจังหวะการลงทุนในอนาคต ซึ่งจะทำเพื่อเอาส่วนลดการค้า หรือเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเหมาะกับธุรกิจการค้าที่มีกับต่างประเทศ
  • ใช้ ในยามฉุกเฉิน ซึ่งจะใช้ในสิ่งที่คาดไม่ถึงที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้เงิน ซึ่งมักจะถือในรูปแบบของหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่ายมากกว่า

นอกจากนี้ธุรกิจอาจจะจำเป็นต้องถือเงินสดไว้ตามข้อเรียกร้องของธนาคารที่ติดต่อ โดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปแบบของกระแสรายวัน

2. การจัดเก็บเงินสดและการจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ

นั้น คือต้องลดระยะเวลาในขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน โดย

  • การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด
  • การชะลอเงินสดจ่าย โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า

3. การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน

การ นำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน กิจการควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้ หากบริหารเงินสดไม่ดีแล้ว กิจการก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ทาง JobsDB หวังว่า บทความนี้คงมีประโยชน์แก่ทุกท่าน เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหายจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้นะ คะ

•3/18/2552
นัก ลงทุนลดความเสี่ยงหันไปซื้อเพชรเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น หลังราคาทองในตลาดโลกผันผวนหนัก ด้านสมาคมเจียระไนเพชรชี้เป็นโอกาสทองสำหรับช้อนซื้อเพชรราคาถูก ชี้ความเสี่ยงน้อย แต่โกยกำไรเฉลี่ย 20-30%

นาง สาวพิมพ์พินิจ กัลวทานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทคอนเทมโพรารี่ จิวเวลรี่ แอนด์ อาร์ต จำกัด ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับการลงทุนเรื่องเพชร เปิดเผยกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ความผันผวนของราคาทองคำในตลาดโลกทำให้คนไทยซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่น ใหม่และเจ้าของกิจการหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาซื้อเพชรเพื่อการลงทุน กับบริษัทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเพชรให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเล่นหุ้น, ฝากเงินในธนาคาร โดยมีผลกำไรอัตราเฉลี่ยปีละ 20-30% รวมทั้งมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงในการขาดทุนน้อยกว่าการเก็งกำไรทองคำอีกด้วย

เนื่อง จากช่วงนี้ทั่วโลกมีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ อย่างต่อเนื่อง เช่น งานจิวเวลรี่แฟร์ที่ประเทศเยอรมนี งานฮ่องกงจิวเวลรี่ และงานบางกอกเจมส์ในไทย ส่งผลให้สถานการณ์ราคาเพชรในตลาดโลกเริ่มขยับตัวสูงขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจซื้อเพชร หากลงทุนซื้อเพชรในช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากเพราะภาวะราคาเพชรโดยรวม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การซื้อเพชรเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปี แค่มีเงินลงทุนประมาณ 350,000 บาทขึ้นไปก็สามารถซื้อเพชรขนาดตั้งแต่ 0.5-1 กะรัตไว้เก็งกำไรได้แล้ว

นายจีรกิตติ ตังครัช นายกสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชร เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2008 ราคาเพชรปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 15% แต่ หลังจากทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ปริมาณความต้องการซื้อเพชรซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยก็ปรับตัวลดลง อย่างมาก โดยราคาเพชรเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว สังเกตได้จากราคาเพชรในตลาดขายปลีกปรับตัวลดลง 20-30% เพชรร่วงที่ผ่านการเจียระไนแล้วในกลุ่มตลาดค้าส่งปรับตัวลดลง 30-40% ส่วนเพชรดิบ (rough diamonds) ราคาร่วงลงถึง 30-50%

ตามปกติตลาด การค้าเพชรทั่วโลกจะมีมูลค่าการซื้อขายเพชรโดยเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้าเพชรส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวว่าจะได้รับผลกระทบจาก ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ต้องแบกรับภาระปัญหาสินค้าเพชรล้นสต๊อก (overall inventory) เป็นมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปริมาณเพชรที่มีอยู่ในสต๊อกขณะนี้เพียงพอสำหรับใช้ไปได้ถึง 3 ปีข้างหน้า

ปัญหา สินค้าเพชรล้นสต๊อกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ผู้ค้า เพชรส่วนใหญ่ใน สหรัฐ และสหภาพยุโรป (อียู) ต้องแบกรับปัญหาหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ พยายามเร่งรัดให้มีการเร่งชำระหนี้เพราะเกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะเจอ ปัญหาหนี้สูญ ทำให้ผู้ประกอบการค้าเพชรต้องเร่งระบายเพชรในสต๊อก เพื่อให้มีเงินสดเข้ามาชำระหนี้แบงก์ทำให้ราคาเพชรในตลาดโลกช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

จากการที่กำลังซื้อเพชรปรับตัวลดลงทั่ว โลก คาดว่าในปีนี้อุตสาหกรรมค้าเพชร จะมีมูลค่าการค้าเพชรเหลือเพียง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าธุรกิจค้าปลีกเพชรจะมียอดขายน้อยลง 20-30% ส่วนตลาดค้าส่งเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้วคาดว่ามียอดขายลดลง 30-50% ส่วนธุรกิจค้าเพชรดิบคาดว่าจะมีรายได้ลดลงถึง 60% ทำให้มีโรงงานประกอบการเจียระไนเพชรในประเทศจีน อินเดีย ไทย ต้องทยอยปิดโรงงานไปอย่างต่อเนื่อง

"เหมืองเพชรทั่วโลกกำลัง พยายามแก้ไขปัญหาวิกฤตตกต่ำในอุตสาหกรรมค้าเพชร โดยลดกำลังการผลิตเพชรดิบในปีนี้ลดลง 50% ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คาดว่าราคาเพชรในตลาดโลกจะปรับตัวเข้าสู่ ภาวะปกติได้ภายในกลางปี 2553 โดยราคาเพชรน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเท่ากับราคาซื้อขายเพชรในปี 2551 ดังนั้นช่วงนี้จึงน่าจะเป็นจังหวะที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อเพชรราคาถูก เพื่อเก็งกำไรในอนาคต" นายจีรกิตติกล่าวในที่สุด

ทาง ด้านนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมอัญมณีไทยและเครื่องประดับไทย ให้ความเห็นว่า ราคาเพชรในตลาดโลกขณะนี้ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แม้ว่าผู้ประกอบการค้าเพชรในตลาดโลกบางส่วนทยอยปล่อยเพชรออกสู่ตลาดมากขึ้น เพราะประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง แต่ก็ยังไม่ถึงกับทำให้ราคาเพชรปรับลดลงมากนัก เพราะยังมีเดอ เบีย เป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่มอนิเตอร์ราคาเพชรอยู่ ส่วนราคาเพชรในประเทศไม่ได้หวือหวาเหมือนราคาทองคำจึงไม่นิยมเก็งกำไรมากนัก


ทีมา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
•3/08/2552
ด้านรายงาน ข่าวจากบริษัทผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 ว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา

โดยจากรายงานดังกล่าวพบว่า บริษัทจัดการที่อยู่ในอันดับต้นๆ 5 อันดับแรก ต่างมีสินทรัพย์ลดลงทั้งสิ้น โดยบลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีมาร์เกตแชร์เป็น

อันดับ 1 มีสินทรัพย์ลดลงถึง 5,272.42 ล้านบาท

อันดับ 2 บลจ.วรรณ มีสินทรัพย์ลดลง 5,058.43 ล้านบาท

อันดับ 3.. บลจ.เอ็มเอฟซี สินทรัพย์ลดลงรวมทั้งสิ้น 5,059.43 ล้านบาท

อันดับ 4. บลจ.ทิสโก้ สินทรัพย์ลดลง 4,553.70 ล้านบาท และ

อันดับ 5.บลจ.ไอเอ็นจี มีสินทรัพย์ลดลงรวมกันกว่า 579.77 ล้านบาท
•3/08/2552
ภาพรวมของบริษัทจัดการกองทุนในอุตสาหกรรม จากกองทุนใหม่ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการโยกเงินเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก ส่งผลให้หลายบลจ. มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทจัดการที่มีส่วนแบ่งการตลาด 10 อันดับแรกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงมีเงินลงทุนในกองทุนรวมสูงสุดเป็น

อันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวม 320,504.20 ล้านบาท ในขณะที่บลจ.กสิกรไทย ยังตามมาเป็น

อันดับ 2 เช่นเดิม ด้วยจำนวนเงินลงทุนรวม 288,219.11 ล้านบาท และ

อันดับ 3 บลจ.บัวหลวง ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 137,046.60 ล้านบาท

อันดับ 4 บลจ.ทหารไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 132,368.97 ล้านบาท

อันดับ 5. บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีสินทรัพย์รวม 109,099.84 ล้านบาท ตามมาด้วย

อันดับ 6. บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 104,189.83 ล้านบาท ส่วน

อันดับ 7 ได้แก่ บลจ.ธนชาต มีสินทรัพย์รวม 77,625.98 ล้านบาท

อันดับ 8.บลจ.ยูโอบี (ไทย) จำกัด ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 48,009.57 ล้านบาท

อันดับ 9. บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กับสินทรัพย์รวม 46,844.82 ล้านบาท และ

อันดับ 10. บลจ.อยุธยา ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 35,827,14 ล้านบาท
•3/07/2552
ฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) รายงานว่า สภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงเดือนผ่านมา ค่อนข้างผันผวนโดยมีทั้งปัจจัยภายนอก และภายในที่เข้ามากระทบ ปัจจัย ภายในจากการที่คณะกรรมการ นโยบายการเงิน( กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันไว้ที่ 3.25% ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวลดลงทันทีกว่า 20 bp. ในช่วงอายุ 5-10 ปี แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. จะออกมาสูงถึง 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยภายนอก จะมุ่งไปที่สภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อด้อยคุณภาพและทำให้ สินทรัพย์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
เช่น CDO ด้อยค่าลงอย่างมากและกระทบต่อสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนและเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ สำหรับบริษัทที่ปล่อยกู้ให้แก่สินเชื่อด้อยคุณภาพ และส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Cross Default ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทผิดนัดชำระหนี้ (Default) กับเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ และจะทำให้บริษัทเจ้าหนี้ดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นๆไปด้วย


แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหรืออาจจะถึงขั้นถดถอยแต่ ราคาน้ำมันก็ไม่ได้ปรับลดลงเนื่องจากกลุ่มโอเปกได้มีมติ ตรึงกำลังการผลิต ความขัดแย้งในโคลัมเบีย และแนวโน้มค่าเงินสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากคาดการณ์ ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะทำการลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ราคาสินค้าต่างๆ ในประเทศก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น


ดังนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ไม่มากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่สามารถที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้มากนัก ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ โดยการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล และมีการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อที่จะชดเชยรายจ่าย ซึ่งทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวชันมากขึ้น
•3/07/2552
อลัมน์ จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล CFA
ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
อีเมล์ : arunsak@scbq.co.th



Keynesian Economics หรือ Keynesian Theory ถูกพูดถึงทางสื่ออยู่บ่อยครั้งในแง่ของทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ ณ ขณะนี้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่ว โลก (รวมถึงประเทศไทยด้วย) Keynesian Theory เป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการใช้การขับเคลื่อนทางอุปสงค์ (Demand Driven Side) มากกว่าการพึ่งพาภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ (Supply Side) เพื่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมักจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านการใช้จ่ายที่สำคัญๆเพื่อ เพิ่มการเติบโตของ GDP บวกกับการกำกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง อาทิเช่นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและ ยั่งยืนในช่วงเวลาต่างๆตลอดวงจรเศรษฐกิจ (Business Cycle) มาตรการของรัฐบาลไทยในการแจกเงิน 2,000 บาทสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้ Keynesian Theory เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ


Keynesian Theory
สิ่งสำคัญที่สุดของการใช้ Keynesian Theory เพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากภาวะถดถอยได้แก่การกระตุ้นปัจจัยทางอุปสงค์เพื่อให้ เกิดกำลังซื้อของประชาชนซึ่งจะนำไปสู่กิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่นการจ้างงานหรือการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ลูกจ้างเกิดรายได้มากขึ้น เป็นวงจรไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกว่า Multiplier Effect ซึ่งข้อดีของมันคือ ในการกระตุ้นดังกล่าวอาจจะใช้เงินเริ่มต้นเพียง 2,000 บาท แต่ถ้าจุดติดขึ้นมาจนเกิดความเชื่อมั่นของภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น (แม้ในช่วงสั้น) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องอาจจะขยายทวีคูณเป็นมูลค่า 20,000 บาท หรือ 200,000 บาทได้


โดยทั่วไปตามทฤษฎีแล้ว ผู้ผลิตจะตัดสินใจจ้างคนหรือลงทุนเพิ่มก็ต่อเมื่อเกิดความต้องการซื้อสินค้า จากผู้ซื้อที่มากกว่ากำลังการผลิตสูงสุดที่มี อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงธุรกิจอาจจะไม่ได้ทำเช่นนั้นก็ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้บริโภคเกิดความรู้สึกทางจิตวิทยาถึงความไม่แน่นอนของรายได้เนื่องจาก การคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง การเริ่มต้นของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession or Depression) จะเกิดขึ้น โดยเริ่มจากการตัดค่าใช้จ่ายทั้งในชีวิตประจำวัน (อาหาร การเดินทาง ความฟุ่มเฟือย) และในสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ (รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า) เพื่อประหยัดเงินไว้รองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่จะตามมาคือผู้ผลิตจะหยุดการขยายการลงทุน ลดกำลังการผลิต ลดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และปลดคนงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย สิ่งที่เลวร้ายต่อมาคือคนงานที่ถูกเลิกจ้างก็จะทำการลดค่าใช้จ่ายของตนเอง เพิ่มมากขึ้น อุปสงค์สินค้าต่างๆก็จะลดน้อยลงไปอีก การเลิกจ้างก็จะมากขึ้น ฯลฯ กลายเป็นวงจรกลับไปมาที่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ (Vicious Cycle)


สูตรสำเร็จการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุปทานแบบดั้งเดิม = ลดดอกเบี้ย+ลดภาษี: ที่อาจจะไม่ได้ผลสำหรับรอบนี้

ในช่วงเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ไม่ดี ธนาคารกลางมักจะนำนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาใช้ เช่นการลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจให้กับธุรกิจเอกชนและหวังว่าจะมีการลงทุนเพิ่ม เติมจากภาระดอกเบี้ยที่ถูกลง ในส่วนของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงอาจจะช่วยจูงใจให้เกิดการกู้เพื่อซื้อสินทรัพย์ ชิ้นใหญ่มากขึ้น เช่นบ้านและที่ดินรวมถึงการใช้จ่ายที่มากขึ้นจากเงินออมที่มีเพราะอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง


ปัญหาที่อาจทำให้การใช้มาตรการทางการเงินดังกล่าวไม่ได้ผลคือ ผู้บริโภคซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจเกิดความไม่มั่น ใจทำให้ไม่กล้าใช้จ่ายเงินแม้ว่าจะสามารถกู้ได้ที่ราคาถูก หากผู้บริโภคไม่ใช้จ่าย กิจกรรมต่อเนื่องที่จะช่วยให้เกิดการขยายตัวก็ไม่เกิด สิ่งที่รัฐบาลคาดหวังไว้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดผลไม่เต็มร้อย รัฐบาลอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมทางด้านอุปทานอย่างเช่นการลดภาษีให้กับภาค ธุรกิจโดยหวังว่าผู้ผลิตจะมีเงินสดมากขึ้นทำให้ช่วยลดการปลดคนงานนั้นอาจจะ ล้มเหลวก็ได้หากนายจ้างยังคงกังวลเพราะไม่มีผู้ซื้อ ทำให้เก็บเงินสดที่ได้เป็นสภาพคล่องสำรองมากกว่านำมาใช้จ่าย


แจกเงินให้กับผู้ที่ต้องใช้จริงๆ

วิธีการแก้ปํญหาในกรณีข้างต้นได้แก่ รัฐบาลจำต้องเข้ามาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายโดยตรง นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐในแง่ของการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภค (Infrastructure) แล้ว อีกวิธีหนึ่งง่ายๆที่รัฐบาลหลายๆประเทศกำลังดำเนินการอยู่รวมถึงไทยด้วย ได้แก่ การแจกเงินแบบให้เปล่ากับผู้ที่ตกงานไม่มีรายได้ หรือผู้ที่จะต้องใช้จ่ายเงินที่แจกไปแน่ๆ หรือจะให้ในรูปของการจ้างงานโดยรัฐบาล ซึ่งแน่นอนมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและนำไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้


อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ต้องระมัดระวังก็คือ การนำเงินดังกล่าวไปใช้ไม่ตรงกับจุดประสงค์รัฐบาลโดยเฉพาะการนำไปออมแทนที่ จะนำไปใช้จ่าย หากการให้เงินดังกล่าวของรัฐกระจัดกระจายมากเกินไป โดยมีการแจกเงินให้กับผู้ทีมีฐานะดีอยู่แล้วหรือผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ทางการเงิน มาตรการดังกล่าวอาจจะไม่ได้ผลก็ได้เนื่องจากเงินดังกล่าวแทนที่จะไปหมุน เวียนในระบบเศรษฐกิจ ก็จะไปสงบแน่นิ่งอยู่ในบัญชีออมทรัพย์แทน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำนอกเหนือจากการแจกเงินแล้ว ได้แก่ การกระตุ้นให้เกิดการนำเงินดังกล่าวที่ได้ไปใช้จ่ายจริง อาจจะอยู่ในรูปของการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับเงินเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการ ให้เงิน (ประมาณว่าช่วยใช้เงินเพื่อชาติ) หรือการให้แรงจูงใจในการใช้เงินจำนวนนี้ อาทิเช่น แทนที่จะให้เงินสด ก็ให้ในรูปของคูปองที่มีวันหมดอายุ หรือแม้แต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้เงินเสียใหม่สำหรับการแจกเงินคราว หน้า (ถ้ามี) ให้กับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ อย่างเช่น คนตกงาน บุคคลล้มละลาย ผู้ปกครองที่มีลูกหลายคน หรือแม้แต่ผู้ที่มีภาระผ่อนบ้านอยู่ เป็นต้น


แจกเงินให้กับผู้ที่จะใช้จ่ายสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (Buy Thailand) จริงๆ

สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง ได้แก่ เงินที่ประชาชนได้ดังกล่าวต้องถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายใน ประเทศจริงๆ กรณีเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นคือ เงินสดที่ได้ดังกล่าวแทนที่จะช่วยในการซื้อขายสินค้า Made In Thailand เพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจของไทย อาจจะกลับกลายเป็นว่าเงินดังกล่าวจะไหลไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอื่น แทน อย่างเช่น หากผู้ได้เงินนำเงินดังกล่าวไปซื้อสินค้านำเข้ามากขึ้น ประเทศจีนอาจจะได้รับอานิสงค์แทนหากคนไทยนำเงินดังกล่าวไปซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคราคาถูกจากประเทศจีน หรือนำเงินไปบริโภคน้ำมันจากประเทศตะวันออกกลางมากขึ้น ซึ่งผลก็คือ Multiplier Effect ที่คาดหวังสำหรับธุรกิจภายในประเทศอาจจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การชะลอการปลดคนงาน การจ้างงานเพิ่มหรือการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจอาจจะไม่เกิดขึ้น


ดังนั้น สิ่งที่ควรจะทำเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้น คือ รัฐบาลควรที่จะสร้างหรือเสาะหา (อย่างเร็ว) ถึงแหล่งสินค้าที่อาจจะใช้แทนสินค้านำเข้าได้ (ฟังดูเหมือนการกีดกันทางการค้า) หรือการแจกคูปองที่ระบุสินค้าที่สามารถซื้อได้จากแหล่งที่ระบุเฉพาะเจาะจง โดยเน้นสินค้าที่ผลิตในประเทศ อาทิเช่น ข้าวสารหรือผลไม้จากสหกรณ์ต่างๆ ร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น
•3/02/2552
ในปัจจุบันนี้ภาวะการลงทุนในตราสารทุนในปี 2551-ต้นปี 2552 คาดว่าจะมีความผันผวนสูงต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2550 จากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นใจของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และปัญหาสภาพคล่องที่ตึงตัวของสหรัฐฯที่มีผลมาจากเงินกู้ในภาคอสังหาริม ทรัพย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากปัจจัยด้านลบต่างๆ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ใช้นโยบายการลงทุนที่มีความระมัดระวังสูง โดยบริษัทได้ใช้การวิเคราะห์เศรษฐกิจ และหลักทรัพย์ทั้งภายใน และภายนอกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีฐานะทางการเงินที่ดี และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง


ในขณะเดียวกันก็มีการกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ที่จะมาช่วยในการลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ภายใต้ภาวะการลงทุนที่มีความผันผวนสูง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ปัจจัยกดดันต่างๆ ฝ่ายลงทุนมองเห็นโอกาสในการลงทุนในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง โดยผู้จัดการกองทุนได้ปรับนโยบายการบริหารกองทุนที่ค่อนข้าง Active เพื่อให้สอดคล้องกับความผันผวนของตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธการลงทุนที่บริษัทใช้มาตั้งแต่ปี 2550 และได้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก โดยผลตอบแทนในช่วงปี 2550 สูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ถึง 19%


กองทุนตราสารทุนที่อยู่ภายใต้การบริหาร และจัดการมีจำนวนหลายกองทุนด้วยกัน ในโอกาสนี้ ขอหยิบยกกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นทุนปันผล ( KTSF) มาแนะนำ เพราะเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนทั่วไป ที่รับความเสี่ยงได้ และมีความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้น แต่ไม่มีเวลาศึกษาหรือ ลงทุนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าวได้ โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ และขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันจันทร์ เป็นกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ในปี 2550 จ่ายปันผลทั้งสิ้น 3 ครั้ง จำนวนรวม 1.50 บาท ผลตอบแทน Year to date ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ -1.35% ในขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -2.59% นักลงทุนที่สนใจอาจจะหาจังหวะเข้าลงทุน เพราะในปีนี้ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
•3/02/2552
เกี่ยวกับความแตกต่างของกองทุน RMF – LTF

สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund :LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) ในแง่วัตถุประสงค์ของกองทุนอาจจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งกองทุน RMF นั้น มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว และให้ผู้ลงทุนออมเงินผ่านกองทุนรวมไว้ใช้ในวัยเกษียณ ขณะที่กองทุน LTF มีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดหุ้น ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุนรวม โดยมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวขึ้น...แต่หากพูดถึงจุดประสงค์เพื่อการออม แล้ว ทั้งสองกองนี้ไม่ต่างกันมากนัก และเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของ กองทุน RMF – LTF มากขึ้น จะขอตอบให้เห็นภาพมากขึ้น โดยแยกเป็นหัวข้อและตอบควบคู่กันไปทั้ง RMF – LTF

เงื่อนไข
RMF : ต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่ต่ำ กว่า 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และเมื่อ รวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่ เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้นๆ ด้วย โดยต้องมีการลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี แต่สามารถ ระงับการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ จะต้องมีปีในการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้อง ถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสีย ภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาย้อนหลัง 5 ปี
LTF : ลงทุนไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งไม่ต้องนับรวมกับการลงทุนหรือเงิน สะสมใดๆ ในแต่ละปี (ผู้ลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องซื้อหน่วยลงทุน ภายในปี 2559 เท่านั้น) โดยไม่มีเงื่อนไขให้ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจากเงินลงทุนที่ขายคืนนั้น

สิทธิประโยชน์
RMF : 1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
LTF : 1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน

นโยบาย
RMF : มีหลากหลายนโยบายให้เลือกเหมือนกองทุนรวมทั่วไป โดยสามารถลงทุนได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ หรือลงทุนแบบผสมทั้งหุ้นและตราสารหนี้
LTF : เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว จึงเป็นกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ฉะนั้นผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF นี้จะต้องยอมรับความเสี่ยงได้สูงด้วย

การขายคืนหน่วยลงทุน
RMF : สามารถขายคืนได้ทุกวันทำการ หรือตามวันที่กำหนดไว้ในโครงการโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
LTF : สามารถขายคืนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง ตามวันที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ
•2/28/2552
ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ ได้แก่

1- ดอกเบี้ยรับ (Interest Received) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ ตามจำนวนเงินที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) บนตราสารหนี้ และตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ร้อยละ 7 จ่ายดอกเบี้ยทุกหกเดือน หมายความว่า ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 3.50 บาท ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม ของทุกปี เป็นต้น และงวดสุดท้ายจะได้รับดอกเบี้ยพร้อมการชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน

2- ส่วนลดรับ (Discount Earned) ในกรณีของตราสารหนี้ประเภท zero coupon bond ผู้ลงทุนสามารถซื้อตราสารหนี้ในราคาซื้อลด หรือในมูลค่าที่ต่ำกว่าจำนวนเงินหน้าตั๋ว (face value) ที่ระบุไว้ว่าจะใช้คืนในวันกำหนดชำระ ตัวอย่างเช่น

ตราสารหนี้ประเภท Zero coupon bond ที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ จำนวนเงินที่จะชำระคืน 1,000 บาท กำหนดชำระคืนในปีที่ 5 นับจากวันลงทุน จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนในอัตราผลตอบแทนจนถึงวันครบกำหนด (Yield to maturity) ที่ 7% ต่อปี ราคาซื้อของตราสารหนี้ประเภท Zero coupon bond จะคำนวณได้เท่ากับ 708.91 บาท

ส่วนลดรับ จะเท่ากับ 1,000 - 708.91 = 291.09 บาท

ส่วนลดรับ จึงเท่ากับ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคารับชำระคืนเมื่อครบกำหนดนั่นเอง


3-กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง และมีผลให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุน ( current yield) ที่มีผู้ประสงค์ซื้อจะลดลงด้วย ราคาซื้อขายของตราสารหนี้ที่มี coupon rate ที่ตราไว้ในอัตราสูงกว่า current yield จะขยับตัวสูงขึ้น และเป็นที่มาของกำไรส่วนเกินทุน
•2/28/2552
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน ได้แก่

1-เงินปันผล (Dividend) คือ เงินส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงานรายปีของกิจการ พิจารณาจัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ที่จัดให้มีขึ้นภายหลังจากการรับรองงบดุลและงบการเงินของกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่จะประมาณเดือนเมษายนของทุกปี กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องจัดให้มีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นปีละหนึ่งครั้ง ภายในสี่เดือนนับจากวันสิ้นสุดปีบัญชี และไม่เกินรอบ 12 เดือนนับจากวันที่ประชุมครั้งหลังสุด


2-กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) คือ เงินได้ที่เกิดขึ้นจากผลต่างของราคาขายหลักทรัพย์ ที่สูงกว่าราคาทุน
•2/28/2552
ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่
1) หุ้นกู้ (Debenture) มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้
หุ้นกู้มีประกัน (secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือสถาบันการเงิน) หรือมีการวางหลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น

หุ้นกู้ไม่มีประกัน (non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่น แต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลัง

2) ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข

3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า จะใช้เงินจำนวนที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

4) บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit) คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง หากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว
•2/28/2552
ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ ได้แก่

1) ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่
-พันธบัตรรัฐบาล (government bond)
-พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond)
-พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
-พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
-ตั๋วเงินคลัง (treasury bill)
•2/28/2552

ตราสารทุน (Equity Instruments) หมายถึง ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุนได้แก่


1) หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ


2) หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

3) ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น

4) หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง

5) ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด

•2/28/2552
ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ ต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

1) ลักษณะที่สำคัญของกองทุนรวม (key feature)
1-ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการ
2-จำนวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จำนวนและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
3-นโยบายและวัตถุประสงค์การลงทุน
4-นโยบายการจ่ายเงินปันผล
5-วันที่เสนอขายหน่วยลงทุน
6-สถานที่ติดต่อซื้อขายหน่วยลงทุน
7-ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหน่วยลงทุน และผู้สอบบัญชี
8-กำหนดเวลาการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนภายหลังการเสนอขายครั้งแรก และระยะเวลาการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน (เฉพาะกองทุนเปิด)
9-หลักเกณฑ์และกำหนดเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (ถ้ามี) (เฉพาะกองทุนปิด)
10-ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมมีประกัน เป็นต้น

2) คำเตือนและข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เช่น "การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้" (ยกเว้นกรณีกองทุนรวมมีประกัน) "ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน" เป็นต้น

3) ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ให้มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
1-ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (credit risk)
2-ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk)
3-ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk)
4-ความเสี่ยงในความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน (เฉพาะกองทุนรวมมีประกัน)
5-แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง (ถ้ามี)

6-การเปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนกับกองทุนรวมประเภทอื่น (ถ้ามี)
4) ตารางแสดงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียก เก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุน รวม หรือกองทุนรวม

5)vวัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน
•2/28/2552

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เหมาะสำหรับใคร ?

กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา จึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้

เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่


1-เงินลงทุน มาจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

2-เมื่อผู้ลงทุนซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวแล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน

3-สามารถลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท

4-หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี นอกจากนั้นต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของเงินกำไรที่ได้รับ และยังต้องนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีกด้วย

นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

กองทุนมีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยอาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวแต่ละกอง
•2/28/2552
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF)

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ คือ กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้มีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ในวงเงินจำกัดในแต่ละปี กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ จึงนับเป็นช่องทางเพียงช่องเดียวที่ผู้ลงทุนไทยจะสามารถกระจายเงินลงทุนของตนให้กว้างขวางขึ้น และเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุน บริษัทจัดการที่สามารถจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ บริษัทจัดการอาจให้ผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนรวมได้ เนื่องจากการลงทุนในต่างประเทศต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวในการจัดการลงทุน นโยบายการลงทุนของ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ อาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งในมาตรฐาน 10 แบบของสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งมีความเสี่ยงและผลตอบแทนในระดับที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ลงทุน การยอมรับความเสี่ยง และการคาดหวังผลตอบแทน กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด กล่าวคือ


1-ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน เว้นแต่เป็นกรณีเงินฝากในประเทศ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานของกองทุน รอการลงทุน รักษาสภาพคล่องของกองทุน เป็นต้น

2-ต้องลงทุนในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือในประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ Federation International des Bourses de Valeurs (FIBV)

3-ผู้ออกหลักทรัพย์หรือตราสารการเงินอื่นใดและผู้รับฝากเงิน ต้องเป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกสามัญของ IOSCO หรือของประเทศที่มีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ FIBV

4-การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้น หุ้นนั้นต้องมีการซื้อขายใน Organized markets ของประเทศ นั้น ๆ (ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ IOSCO หรือในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ FIBV

บริษัทจัดการต้องยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อขอให้พิจารณารับหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทุน หากตลาดหลักทรัพย์สั่งไม่รับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องดำเนินการเพื่อยกเลิกกองทุน
•2/28/2552
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือ กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมไว้สำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป เพราะเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้รับการยกเวันภาษีเงินได้ไม่เกินปีละ 300,000 บาท ทั้งนี้ ให้นับรวมเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดภาษีเงินได้ทันที ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มลงทุน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เหมาะสำหรับใคร?


1)ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งแต่เดิมมาขาดโอกาสสะสมเงินลงทุนแบบปลอดภาษี เพราะไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ

2)ลูกจ้างที่นายจ้างยังไม่พร้อมที่จะจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถสะสมเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณได้

3)ลูกจ้างหรือข้าราชการที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว และประสงค์ที่จะลงทุนมากกว่าเดิม เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้เต็มวงเงิน 300,000 บาท ตามที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริม

เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่

1-เงินลงทุน มาจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

2-ผู้ลงทุนที่มีเงินได้ต้องลงทุนแบบผูกพัน คือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แต่เมื่อมีความจำเป็นอาจระงับการลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งปีติดต่อกัน แต่หากผู้ลงทุนไม่มีเงินได้ในปีใดหรือหลายปีติดต่อกัน ผู้ลงทุนสามารถว่างเว้นการลงทุนได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุนและเมื่อมีเงินได้ก็ให้ลงทุนต่อไป โดยนับอายุการลงทุนตั้งแต่ปีแรกที่ลงทุน

3-เงินลงทุนขั้นต่ำ ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสามของรายได้ หรือไม่น้อยกว่าห้าพันบาทต่อปีอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีจำนวนเงินต่ำกว่า ในการคำนวณรวมเงินลงทุนขั้นต่ำ ให้รวมเงินลงทุนในทุก ๆ กองทุนที่ลงทุนในปีนั้น ๆ
4-เงินลงทุนขั้นสูง ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้ แต่ต้องไม่เกินสามแสนบาทต่อปี ในการคำนวณรวมเงินลงทุนขั้นสูง ให้รวมเงินลงทุนใน ทุก ๆ กองทุนที่ลงทุนในปีนั้น ๆ

5-กองทุนไม่จ่ายเงินปันผล

6-ห้าม นำหน่วยลงทุนของกองทุนไป จำหน่ายจ่ายโอน หรือ นำไปเป็นประกัน

7-หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด ที่ผู้ลงทุนจะมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และถือหน่วยลงทุนมาน้อยกว่าห้าปี ผู้ลงทุนต้องนำเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วงห้าปีปฏิทินล่าสุดไปคืนกรมสรรพากร และนำเงินกำไรส่วนเกินทุนที่เกิดจากการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น ไปคำนวณรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ในปีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น

นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

การลงทุนอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งในมาตรฐาน 10 แบบของสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งมีความเสี่ยงและผลตอบแทนในระดับที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ลงทุน การยอมรับความเสี่ยง และการคาดหวังผลตอบ
•2/28/2552
กองทุนรวมมีประกัน (Guarantee fund)

กองทุนรวมมีประกัน คือ กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีสถาบันการเงินเป็นผู้ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนว่า จะจ่ายเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน ตามจำนวนเงินที่ประกันไว้ (อาจจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เมื่อถือหน่วยลงทุนครบอายุตามระยะเวลาประกันที่กำหนด วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีกองทุนรวมมีประกัน ก็เพื่อที่จะทำให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจว่า เงินลงทุนของตนจะไม่สูญ นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน การลงทุนอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งในมาตรฐาน 10 แบบตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน สถาบันการเงินที่เป็นผู้ประกันของกองทุนรวมมีประกัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้


1)เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ ผู้ประกันดังกล่าวจะต้องสามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินสำรองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจนั้น

2)เป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต
•2/28/2552

ประเภทของกองทุนรวมโดยแบ่งตามนโยบายการลงทุน 10 แบบมาตรฐานของสำนักงาน ก.ล.ต.

1) กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องรายงานค่าเฉลี่ยการถือครองตราสารทุนให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบทุกรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบบัญชีกองทุน หากค่าเฉลี่ยการถือครองตราสารทุนไม่ถึงร้อยละ 65 ในรอบระยะเวลาใด ให้บริษัทจัดการแสดงเหตุผลโดยชัดเจน เพื่อที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะได้นำไปเปิดเผยให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจลงทุนทราบต่อไป โดยทั่วไปแล้ว กองทุนรวมตราสารแห่งทุน มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวม ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารประเภทอื่น จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง และควรลงทุนเพื่อหวังผลที่ดีกว่าในระยะยาว

2)กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General fixed income fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะเงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ ห้ามมิให้กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ลงทุนหรือ มีไว้ซึ่งตราสารทุนหรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (หุ้นกู้แปลงสภาพ) ยกเว้นแต่สำนักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาอนุญาต เมื่อมีผู้ให้คำรับรองที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะเป็นผู้รับ ซื้อตราสารทุนหลังการแปลงสภาพนั้นออกไปจากกองทุนโดยทั่วไปแล้ว กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ มีความเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีนโยบาย ลงทุนในตราสารทุน จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่า

3)กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว (Long-term fixed income fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะเงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต .กำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรง พอร์ตโฟริโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ในขณะใดขณะหนึ่งของกองทุนรวมนั้นมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป พอร์ตโฟริโอ ดูเรชัน (portfolio duration) หมายถึง อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม พอร์ตโฟริโอ ดูเรชัน มากกว่าหนึ่งปี มีความหมายโดยทั่วไปว่า ทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนและมีไว้ มีอายุเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งปี เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงต่ำ และสามารถลงทุนระยะยาวได้

4)กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น (Short-term fixed income fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะเงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรง พอร์ตโฟริโอ ดูเรชัน (portfolio duration) ในขณะใดขณะหนึ่งของกองทุนรวมนั้นไม่เกินหนึ่งปี พอร์ตโฟริโอ ดูเรชัน ต่ำกว่าหนึ่งปี มีความหมายโดยทั่วไปว่า ทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนและมีไว้ มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าหนึ่งปี เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น และต้องการความเสี่ยงต่ำ


5)กองทุนรวมผสม (Balanced fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด หรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนผสม ลงทุนในตราสารได้ทุกประเภท ผู้จัดการกองทุนสามารถแสวงหาโอกาสลงทุนที่ดีกว่าได้ทั้งในตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ แต่เป็นการจัดสรรเงินลงทุนประเภทสมดุล เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุน กองทุนผสม เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง

6)กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible portfolio fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด หรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ ทั้งนี้ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นดังกล่าว ขึ้นกับการตัดสินใจลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวม ตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะ กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น สามารถลงทุนในตราสารทุกประเภทเช่นเดียวกับกับกองทุนรวมผสม แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนแต่อย่างใด การจัดสรรเงินลงทุนของกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นระหว่างตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ จึงอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง

7)กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of funds) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เนื่องจากกองทุนรวมมีข้อดีหลายประการ ที่สำคัญคือ มีการกระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง ทั้งยังมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ กองทุนรวมหน่วยลงทุนจึงรับเอาข้อได้เปรียบดังกล่าวมา นอกจากนั้นแล้ว กองทุนรวมหน่วยลงทุนยังกระจายการลงทุนไปในหลาย กองทุนรวมภายใต้การจัดการของหลายผู้จัดการกองทุนและหลายบริษัทจัดการ จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงที่กว้างขวางกว่า ข้อเสียของกองทุนรวมหน่วยลงทุน อยู่ที่มีค่าธรรมเนียมในการจัดการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซ้ำซ้อน

8)กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีความเสี่ยงสูง กองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก

9)กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ มีการลงทุนกระจุกตัว จึงมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมตราสารแห่งทุนโดยทั่วไป

1o)กองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและมีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถามหรือมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงิน มีนโยบายการลงทุนที่คล้ายคลึงกับ กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำสุด เหมาะสำหรับการลงทุน ระยะสั้นของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง

•2/28/2552
กองทุนปิด

1. จำนวนหน่วยลงทุน : กำหนดแน่นอน ไม่เพิ่ม ไม่ลด
2. อายุโครงการ : มีกำหนดแน่นอน
3. การซื้อหน่วยลงทุน : เปิดให้จองซื้อครั้งเดียวเมื่อเริ่มโครงการหากประสงค์ซื้อเพิ่มในภายหลัง ต้องเข้าซื้อในตลาดรอง (กรณีบริษัทจัดการนำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนซื้อขาย) หรือแสดงความจำนงกับตัวแทนขาย (market maker) ที่บริษัทจัดการแต่งตั้ง
4. การขายคืนหน่วยลงทุน : บริษัทจัดการไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบอายุโครงการ หากผู้ลงทุนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ต้องขายหน่วยลงทุนที่ถือไว้ในตลาดรองในราคาตลาดให้แก่ผู้ประสงค์ซื้อ
5. การจดทะเบียนซื้อขาย : นิยมจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

กองทุนเปิด

1. จำนวนหน่วยลงทุน : สามารถเพิ่มหรือลดลงได้
2. อายุโครงการ : ไม่มีกำหนด (evergreen)
3. การซื้อหน่วยลงทุน :สามารถซื้อเพิ่มจำนวนหน่วยกับบริษัทจัดการโดยตรง หรือติดต่อผ่านตัวแทนสนับสนุนการขาย ที่บริษัทจัดการแต่งตั้ง ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เช่น ธนาคาร หรือบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งคำสั่งซื้อมายังบริษัทจัดการ
4. การขายคืนหน่วยลงทุน : บริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน) ในราคาเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หักด้วยค่าธรรมเนียม(ถ้ามี)
5. การจดทะเบียนซื้อขาย : ไม่นิยมจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง เพราะสามารถซื้อขายผ่านตัวแทนสนับสนุนการขายได้อยู่แล้ว
•2/28/2552
ด้วยกองทุนรวมเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือในการลงทุนของผู้ลงทุน ดังนั้น จึงต้องมีความหลากหลายเพื่อให้มีความเหมาะสมกับแต่ละลักษณะของผู้ลงทุน โดยทั่วไปกองทุนรวมสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

1 แบ่งตามประเภทของการขายคืนหน่วยลงทุน

กองทุนปิด (Closed-End fund) กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง และเปิดให้มีการจองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ มีกำหนดอายุโครงการแน่นอน และบริษัทจัดการไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการ ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อน ครบกำหนดอายุโครงการได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว อายุโครงการของกองทุนรวมในประเทศไทย จะมีกำหนด 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี และเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจนำหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) หรือจัดให้มี ตัวแทนจัดการซื้อขาย (Market maker

กองทุนเปิด (Open-End fund) กองทุนรวมที่สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ ไม่มีกำหนดอายุโครงการ และบริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วย ลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกหกเดือน กองทุนเปิดจึงเป็นที่นิยม มากกว่ากองทุนปิด เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า
•2/28/2552
โครงสร้างของกองทุนรวม ถูกกำหนดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยประกอบด้วยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ และผู้กำกับดูแล ทั้งที่เป็นองค์กรของภาคเอกชนและภาครัฐ ได้แก่

-บริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลังเท่านั้น บริษัทจัดการเป็นผู้กำหนดโครงการกองทุนรวม นโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และต้องบริหารจัดการลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนนั้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะแจ้งนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ในการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบ ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่แจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจลงทุนได้ศึกษาก่อนที่จะลงทุน

-ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นสถาบันการเงิน ที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์จะเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทั้งมวลของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น
1)ดูแลให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนของโครงการลงทุน ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และที่ได้จดแจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน

2)ทำหน้าที่ชำระราคาค่าซื้อและรับชำระราคาจากการขายทรัพย์สิน

3)เก็บรักษาทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม

4)สอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม

5)ดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้ถือหน่วยลงทุนหากบริษัทจัดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

-ตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำหน้าที่เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น ตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และผ่านการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการเป็นตัวแทนขายจากสถาบันที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ ขึ้นทะเบียนรายชื่อกับสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องปฏิบัติและทำหน้าที่ในการขายตามกรอบที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการขายและการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกองทุนรวม มีสองระดับ ได้แก่

1-ตัวแทนสนับสนุนการขาย-ระดับหนึ่ง [ Investment Planner (IP)] หมายถึง บุคคลที่สามารถให้ คำแนะนำในการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้สนใจลงทุนทั่วไป ทั้งที่เป็น คำแนะนำทั่วไป และ คำแนะนำเฉพาะเจาะจง
2-ตัวแทนสนับสนุนการขาย-ระดับสอง [ Fundamental Guide (FG) ] หมายถึง บุคคลที่ สามารถให้ คำแนะนำในการลงทุนในหน่วย


-นายทะเบียนหน่วยลงทุน นายทะเบียนหน่วยลงทุน เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้มีหน้าที่ดูแลทะเบียนรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น การจ่ายเงินปันผล และสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ บริษัทจัดการอาจทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหน่วยลงทุน สำหรับกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนก็ได้

-ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชี และมีชื่อขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกองทุนรวม ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบงบการเงินของกองทุนให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี

-สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ จดทะเบียนสมาคมกับสำนักงาน ก.ล.ต. มีบริษัทจัดการที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสมาชิก สมาคมมีหน้าที่กำหนดจรรยาบรรณ และวางมาตรฐานในการปฏิบัติ ให้บริษัทสมาชิกยึดถือและปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกราย กำหนดบทลงโทษเมื่อบริษัทสมาชิกฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตาม

-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นองค์กรของภาครัฐ ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงการจัดการลงทุน ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ ข้อกำหนดตามความในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์
•2/28/2552
กองทุนรวม คือ เครื่องมือในการลงทุน (investment vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการ ที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น

-มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน หรือ
-ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน หรือ
-ไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน

กองทุนรวม จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้