•3/18/2552


งานธนาคาร

สำหรับ คนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีพื้นฐานฐานะที่ร่ำรวยนัก แต่อยากไขว่ขว้าเอาความสำเร็จด้านการเงินมาครอบครอง พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "มุมมองใหม่กำไรชีวิต" ได้ให้เคล็ดลับที่สามารถใช้ได้จริงไว้แล้ว


ตั้งเป้ากับแรงปรารถนา

อย่าใช้ชีวิตเป็นเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล ให้กำหนดจุดเป้าหมายให้ชัดเจนในชีวิต ว่าคุณจะเกษียณแบบไหน หรือจะเกษียณก่อนเวลาในอายุเท่าไรดี โดยเฉพาะด้านอาชีพการงานเพราะค่อนข้างเกี่ยวกับเรื่องการเงิน คุณควรตั้งเป้าว่าอีกกี่ปีจะออกมาทำกิจการต้องตนเอง หรืออีกนานเท่าไรคุณถึงจะได้เป็นหัวหน้า ที่จะทำให้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น และเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตได้

เริ่มตัดสินใจวางแผน

จากการเงินที่คุณมีอยู่นี้ ต้องเริ่มคิดได้แล้วว่าจะลงทุนทำอะไรบ้าง หรือจะเริ่มเก็บออมจำนวนเงินเท่าไรต่อเดือน วางแผนว่าจะทำอย่างไรที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
แม้ว่าคุณจะต้องเสียเวลา การเดินทาง หรือเงินทองไปบ้าง แต่ถ้ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงคุณก็ต้องเริ่มตัดสินใจตั้งแต่วันนี้ นอกจากนี้การตัดสินใจมักจะควบคู่กับการเสียสละ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนสถานะให้จริงจังกับหน้าที่การงานมากขึ้น เพื่อบรรลุแผนที่ตั้งมั่นไว้ตั้งแต่ต้นด้วย

อุตสาหะอดกลั้น

ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่ายคุณจะต้องอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ ที่คุณเคยได้และเคยมี แน่นอนว่าอุปสรรคขวากหนามจะเข้ามาเยี่ยมคุณไม่ขาดสาย แต่อยากให้รู้ว่าทุกสิ่งก็คือบทเรียน ความอดกลั้นคือชัยชนะ ที่จะนำพาให้คุณและครอบครัวก้าวเข้าสู่ความสำเร็จทางการเงินได้อย่างงดงาม สิ่งสำคัญคืออย่าให้ปัญหาเข้ามามีบทบาทกับอารมณ์ของคุณ เพราะเมื่ออารมณ์คุณพลุ่งพล่านอาจจะทำให้ตัดสินใจอะไรผิดๆ ก็ได้ ทางที่ดีตั้งสติกับปัญหา และหาวิธีแก้ไขในสถาน การณ์นั้นๆ จะดีกว่า

มีวินัยบังคับตนเอง

การมีวินัยคือความสม่ำเสมอในการบังคับตัวเอง ให้อยู่ในกรอบที่เราเองเป็นผู้วางแผนเอาไว้ ไม่ใช่เดือนหนึ่งประหยัดอีกเดือนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเหมือนเดิม หรือว่าปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้แตกต่างไปจากเดิม อย่างเช่น การตื่นไปทำงานให้เช้าขึ้น กำหนดค่าใช้จ่ายประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกฝนตัวเองในสายงานที่มีอยู่ ให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานที่เราทำ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง

ที่มา : www.lisathailand.com

•3/18/2552


งานธนาคาร

หลาย ท่านคงเคยประสบกับปัญหาว่ายอดเงินในบัตรไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายที่เราใช้งาน จริง แล้วก็เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะต้องไปติดต่อธนาคาร ซึ่งเสียเวลาและก่อให้เกิดความรำคาญใจอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ ทาง JobsDB ขอเสนอ มาตรการความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิต ดังนี้ค่ะ

หลีก เลี่ยงการใช้ Password ร่วมกับบริการอื่น ๆ ที่ให้บริการผ่าน Internet เช่น การซื้อของผ่าน Internet หรือ Free E-mail หรือบริการใด ๆ ที่ต้องสมัครและให้กรอก Password ผ่าน Internet เป็นต้น

  1. ไม่เปิดเผย Username และ Password ให้บุคคลอื่นทราบ
  2. เปลี่ยน Password ทันทีหลังจากเข้าใช้ครั้งแรก และควรเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันมิให้สามารถเข้าใช้งานได้ในกรณีที่ถูกขโมยบัตรไป
  3. หลังการใช้งานในการใช้จ่ายต่าง ๆ บน Internet หรือที่ใดก็ตาม ควรจะ Log Off ออกจากระบบทุกครั้ง
  4. ล้างข้อมูลใน Browser ทุกครั้ง หลังการใช้งานบัตรเครดิต โดยเข้าไปล้างที่ Cache
  5. หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือทางการเงิน ให้กับ Website ที่ไม่น่าเชื่อถือ
  6. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสาธารณะ หรืออุปกรณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงิน ทางที่ดีควรจะเป็นเครื่องส่วนบุคคล
  7. ป้องกันมิให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวติด Virus หรือโปรแกรมที่ไม่น่าเชื่อถือ
  8. ให้ Disable “File and Printer Sharing” เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่น ๆ เข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้
  9. หมั่นตรวจสอบรายการธุรกรรมทางการเงินและยอดเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
  10. แจ้งธนาคารทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของท่าน เช่น ข้อมูลที่อยู่อาศัย, E-mail Address เป็นต้น
  11. แจ้งธนาคารทันทีที่มีปัญหาในการใช้งาน

เท่า นี้ทุกท่านก็ปลอดภัยจากการใช้งานบัตรเครดิตบน Internet ได้ และหลีกเลี่ยงปัญหาการถูกโจรกรรมทางการเงิน และความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้วล่ะค่ะ

•3/18/2552


งานธนาคาร

ท่าน ผู้อ่านหลายท่านในขณะนี้คงกำลังบริหารเงินสดทั้งภายในบริษัทหรือภายในบ้าน ของตัวเองอย่างเคร่งเครียด JobsDB มีเคล็ดลับการบริหารเงินสดมาช่วยให้ทุกท่านไม่ปวดหัวว่าควรจะเบิกเงินสด เท่าไร จ่ายออกไปเท่าไรดี และควรจ่ายเมื่อไร

การ บริหารเงินสดที่ดี และมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดจำนวนเงินที่ถือเอาไว้ลงมาได้มาก ซึ่งเงินเหล่านี้ไม่อาจงอกเงยได้เลยเนื่องจากจะต้องนำไปจ่ายเพื่อซื้อของ ต่าง ๆ รวมถึงการชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น JobsDB จึงมี Tips มาแนะนำ 3 ประการ คือ


  • กำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม
  • การจัดเก็บเงินสด การจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลงทุนเงินสดส่วนเกินเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด

1. การกำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม

ผล ประโยชน์ของการมีเงินสดในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอก เบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย โดยมีข้อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการถือเงินดังนี้ คือ

  • ใช้ ในการดำเนินการธุรกิจประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ภาษี เงินปันผล ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง เงินเดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ
  • รอจังหวะการลงทุนในอนาคต ซึ่งจะทำเพื่อเอาส่วนลดการค้า หรือเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเหมาะกับธุรกิจการค้าที่มีกับต่างประเทศ
  • ใช้ ในยามฉุกเฉิน ซึ่งจะใช้ในสิ่งที่คาดไม่ถึงที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้เงิน ซึ่งมักจะถือในรูปแบบของหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่ายมากกว่า

นอกจากนี้ธุรกิจอาจจะจำเป็นต้องถือเงินสดไว้ตามข้อเรียกร้องของธนาคารที่ติดต่อ โดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปแบบของกระแสรายวัน

2. การจัดเก็บเงินสดและการจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ

นั้น คือต้องลดระยะเวลาในขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน โดย

  • การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด
  • การชะลอเงินสดจ่าย โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า

3. การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน

การ นำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน กิจการควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้ หากบริหารเงินสดไม่ดีแล้ว กิจการก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ทาง JobsDB หวังว่า บทความนี้คงมีประโยชน์แก่ทุกท่าน เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหายจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้นะ คะ

•3/18/2552
นัก ลงทุนลดความเสี่ยงหันไปซื้อเพชรเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น หลังราคาทองในตลาดโลกผันผวนหนัก ด้านสมาคมเจียระไนเพชรชี้เป็นโอกาสทองสำหรับช้อนซื้อเพชรราคาถูก ชี้ความเสี่ยงน้อย แต่โกยกำไรเฉลี่ย 20-30%

นาง สาวพิมพ์พินิจ กัลวทานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทคอนเทมโพรารี่ จิวเวลรี่ แอนด์ อาร์ต จำกัด ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับการลงทุนเรื่องเพชร เปิดเผยกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ความผันผวนของราคาทองคำในตลาดโลกทำให้คนไทยซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่น ใหม่และเจ้าของกิจการหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาซื้อเพชรเพื่อการลงทุน กับบริษัทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเพชรให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเล่นหุ้น, ฝากเงินในธนาคาร โดยมีผลกำไรอัตราเฉลี่ยปีละ 20-30% รวมทั้งมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงในการขาดทุนน้อยกว่าการเก็งกำไรทองคำอีกด้วย

เนื่อง จากช่วงนี้ทั่วโลกมีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ อย่างต่อเนื่อง เช่น งานจิวเวลรี่แฟร์ที่ประเทศเยอรมนี งานฮ่องกงจิวเวลรี่ และงานบางกอกเจมส์ในไทย ส่งผลให้สถานการณ์ราคาเพชรในตลาดโลกเริ่มขยับตัวสูงขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจซื้อเพชร หากลงทุนซื้อเพชรในช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากเพราะภาวะราคาเพชรโดยรวม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การซื้อเพชรเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปี แค่มีเงินลงทุนประมาณ 350,000 บาทขึ้นไปก็สามารถซื้อเพชรขนาดตั้งแต่ 0.5-1 กะรัตไว้เก็งกำไรได้แล้ว

นายจีรกิตติ ตังครัช นายกสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชร เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2008 ราคาเพชรปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 15% แต่ หลังจากทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ปริมาณความต้องการซื้อเพชรซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยก็ปรับตัวลดลง อย่างมาก โดยราคาเพชรเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว สังเกตได้จากราคาเพชรในตลาดขายปลีกปรับตัวลดลง 20-30% เพชรร่วงที่ผ่านการเจียระไนแล้วในกลุ่มตลาดค้าส่งปรับตัวลดลง 30-40% ส่วนเพชรดิบ (rough diamonds) ราคาร่วงลงถึง 30-50%

ตามปกติตลาด การค้าเพชรทั่วโลกจะมีมูลค่าการซื้อขายเพชรโดยเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้าเพชรส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวว่าจะได้รับผลกระทบจาก ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ต้องแบกรับภาระปัญหาสินค้าเพชรล้นสต๊อก (overall inventory) เป็นมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปริมาณเพชรที่มีอยู่ในสต๊อกขณะนี้เพียงพอสำหรับใช้ไปได้ถึง 3 ปีข้างหน้า

ปัญหา สินค้าเพชรล้นสต๊อกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ผู้ค้า เพชรส่วนใหญ่ใน สหรัฐ และสหภาพยุโรป (อียู) ต้องแบกรับปัญหาหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ พยายามเร่งรัดให้มีการเร่งชำระหนี้เพราะเกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะเจอ ปัญหาหนี้สูญ ทำให้ผู้ประกอบการค้าเพชรต้องเร่งระบายเพชรในสต๊อก เพื่อให้มีเงินสดเข้ามาชำระหนี้แบงก์ทำให้ราคาเพชรในตลาดโลกช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

จากการที่กำลังซื้อเพชรปรับตัวลดลงทั่ว โลก คาดว่าในปีนี้อุตสาหกรรมค้าเพชร จะมีมูลค่าการค้าเพชรเหลือเพียง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าธุรกิจค้าปลีกเพชรจะมียอดขายน้อยลง 20-30% ส่วนตลาดค้าส่งเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้วคาดว่ามียอดขายลดลง 30-50% ส่วนธุรกิจค้าเพชรดิบคาดว่าจะมีรายได้ลดลงถึง 60% ทำให้มีโรงงานประกอบการเจียระไนเพชรในประเทศจีน อินเดีย ไทย ต้องทยอยปิดโรงงานไปอย่างต่อเนื่อง

"เหมืองเพชรทั่วโลกกำลัง พยายามแก้ไขปัญหาวิกฤตตกต่ำในอุตสาหกรรมค้าเพชร โดยลดกำลังการผลิตเพชรดิบในปีนี้ลดลง 50% ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คาดว่าราคาเพชรในตลาดโลกจะปรับตัวเข้าสู่ ภาวะปกติได้ภายในกลางปี 2553 โดยราคาเพชรน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเท่ากับราคาซื้อขายเพชรในปี 2551 ดังนั้นช่วงนี้จึงน่าจะเป็นจังหวะที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อเพชรราคาถูก เพื่อเก็งกำไรในอนาคต" นายจีรกิตติกล่าวในที่สุด

ทาง ด้านนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมอัญมณีไทยและเครื่องประดับไทย ให้ความเห็นว่า ราคาเพชรในตลาดโลกขณะนี้ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แม้ว่าผู้ประกอบการค้าเพชรในตลาดโลกบางส่วนทยอยปล่อยเพชรออกสู่ตลาดมากขึ้น เพราะประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง แต่ก็ยังไม่ถึงกับทำให้ราคาเพชรปรับลดลงมากนัก เพราะยังมีเดอ เบีย เป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่มอนิเตอร์ราคาเพชรอยู่ ส่วนราคาเพชรในประเทศไม่ได้หวือหวาเหมือนราคาทองคำจึงไม่นิยมเก็งกำไรมากนัก


ทีมา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
•3/08/2552
ด้านรายงาน ข่าวจากบริษัทผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 ว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา

โดยจากรายงานดังกล่าวพบว่า บริษัทจัดการที่อยู่ในอันดับต้นๆ 5 อันดับแรก ต่างมีสินทรัพย์ลดลงทั้งสิ้น โดยบลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีมาร์เกตแชร์เป็น

อันดับ 1 มีสินทรัพย์ลดลงถึง 5,272.42 ล้านบาท

อันดับ 2 บลจ.วรรณ มีสินทรัพย์ลดลง 5,058.43 ล้านบาท

อันดับ 3.. บลจ.เอ็มเอฟซี สินทรัพย์ลดลงรวมทั้งสิ้น 5,059.43 ล้านบาท

อันดับ 4. บลจ.ทิสโก้ สินทรัพย์ลดลง 4,553.70 ล้านบาท และ

อันดับ 5.บลจ.ไอเอ็นจี มีสินทรัพย์ลดลงรวมกันกว่า 579.77 ล้านบาท
•3/08/2552
ภาพรวมของบริษัทจัดการกองทุนในอุตสาหกรรม จากกองทุนใหม่ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการโยกเงินเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก ส่งผลให้หลายบลจ. มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทจัดการที่มีส่วนแบ่งการตลาด 10 อันดับแรกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงมีเงินลงทุนในกองทุนรวมสูงสุดเป็น

อันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวม 320,504.20 ล้านบาท ในขณะที่บลจ.กสิกรไทย ยังตามมาเป็น

อันดับ 2 เช่นเดิม ด้วยจำนวนเงินลงทุนรวม 288,219.11 ล้านบาท และ

อันดับ 3 บลจ.บัวหลวง ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 137,046.60 ล้านบาท

อันดับ 4 บลจ.ทหารไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 132,368.97 ล้านบาท

อันดับ 5. บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีสินทรัพย์รวม 109,099.84 ล้านบาท ตามมาด้วย

อันดับ 6. บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 104,189.83 ล้านบาท ส่วน

อันดับ 7 ได้แก่ บลจ.ธนชาต มีสินทรัพย์รวม 77,625.98 ล้านบาท

อันดับ 8.บลจ.ยูโอบี (ไทย) จำกัด ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 48,009.57 ล้านบาท

อันดับ 9. บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กับสินทรัพย์รวม 46,844.82 ล้านบาท และ

อันดับ 10. บลจ.อยุธยา ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 35,827,14 ล้านบาท
•3/07/2552
ฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) รายงานว่า สภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงเดือนผ่านมา ค่อนข้างผันผวนโดยมีทั้งปัจจัยภายนอก และภายในที่เข้ามากระทบ ปัจจัย ภายในจากการที่คณะกรรมการ นโยบายการเงิน( กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันไว้ที่ 3.25% ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวลดลงทันทีกว่า 20 bp. ในช่วงอายุ 5-10 ปี แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. จะออกมาสูงถึง 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยภายนอก จะมุ่งไปที่สภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อด้อยคุณภาพและทำให้ สินทรัพย์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
เช่น CDO ด้อยค่าลงอย่างมากและกระทบต่อสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนและเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ สำหรับบริษัทที่ปล่อยกู้ให้แก่สินเชื่อด้อยคุณภาพ และส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Cross Default ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทผิดนัดชำระหนี้ (Default) กับเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ และจะทำให้บริษัทเจ้าหนี้ดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นๆไปด้วย


แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหรืออาจจะถึงขั้นถดถอยแต่ ราคาน้ำมันก็ไม่ได้ปรับลดลงเนื่องจากกลุ่มโอเปกได้มีมติ ตรึงกำลังการผลิต ความขัดแย้งในโคลัมเบีย และแนวโน้มค่าเงินสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากคาดการณ์ ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะทำการลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ราคาสินค้าต่างๆ ในประเทศก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น


ดังนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ไม่มากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่สามารถที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้มากนัก ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ โดยการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล และมีการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อที่จะชดเชยรายจ่าย ซึ่งทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวชันมากขึ้น
•3/07/2552
อลัมน์ จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล CFA
ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
อีเมล์ : arunsak@scbq.co.th



Keynesian Economics หรือ Keynesian Theory ถูกพูดถึงทางสื่ออยู่บ่อยครั้งในแง่ของทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ ณ ขณะนี้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่ว โลก (รวมถึงประเทศไทยด้วย) Keynesian Theory เป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการใช้การขับเคลื่อนทางอุปสงค์ (Demand Driven Side) มากกว่าการพึ่งพาภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ (Supply Side) เพื่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมักจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านการใช้จ่ายที่สำคัญๆเพื่อ เพิ่มการเติบโตของ GDP บวกกับการกำกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง อาทิเช่นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและ ยั่งยืนในช่วงเวลาต่างๆตลอดวงจรเศรษฐกิจ (Business Cycle) มาตรการของรัฐบาลไทยในการแจกเงิน 2,000 บาทสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้ Keynesian Theory เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ


Keynesian Theory
สิ่งสำคัญที่สุดของการใช้ Keynesian Theory เพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากภาวะถดถอยได้แก่การกระตุ้นปัจจัยทางอุปสงค์เพื่อให้ เกิดกำลังซื้อของประชาชนซึ่งจะนำไปสู่กิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่นการจ้างงานหรือการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ลูกจ้างเกิดรายได้มากขึ้น เป็นวงจรไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกว่า Multiplier Effect ซึ่งข้อดีของมันคือ ในการกระตุ้นดังกล่าวอาจจะใช้เงินเริ่มต้นเพียง 2,000 บาท แต่ถ้าจุดติดขึ้นมาจนเกิดความเชื่อมั่นของภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น (แม้ในช่วงสั้น) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องอาจจะขยายทวีคูณเป็นมูลค่า 20,000 บาท หรือ 200,000 บาทได้


โดยทั่วไปตามทฤษฎีแล้ว ผู้ผลิตจะตัดสินใจจ้างคนหรือลงทุนเพิ่มก็ต่อเมื่อเกิดความต้องการซื้อสินค้า จากผู้ซื้อที่มากกว่ากำลังการผลิตสูงสุดที่มี อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงธุรกิจอาจจะไม่ได้ทำเช่นนั้นก็ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้บริโภคเกิดความรู้สึกทางจิตวิทยาถึงความไม่แน่นอนของรายได้เนื่องจาก การคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง การเริ่มต้นของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession or Depression) จะเกิดขึ้น โดยเริ่มจากการตัดค่าใช้จ่ายทั้งในชีวิตประจำวัน (อาหาร การเดินทาง ความฟุ่มเฟือย) และในสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ (รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า) เพื่อประหยัดเงินไว้รองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่จะตามมาคือผู้ผลิตจะหยุดการขยายการลงทุน ลดกำลังการผลิต ลดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และปลดคนงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย สิ่งที่เลวร้ายต่อมาคือคนงานที่ถูกเลิกจ้างก็จะทำการลดค่าใช้จ่ายของตนเอง เพิ่มมากขึ้น อุปสงค์สินค้าต่างๆก็จะลดน้อยลงไปอีก การเลิกจ้างก็จะมากขึ้น ฯลฯ กลายเป็นวงจรกลับไปมาที่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ (Vicious Cycle)


สูตรสำเร็จการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุปทานแบบดั้งเดิม = ลดดอกเบี้ย+ลดภาษี: ที่อาจจะไม่ได้ผลสำหรับรอบนี้

ในช่วงเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ไม่ดี ธนาคารกลางมักจะนำนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาใช้ เช่นการลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจให้กับธุรกิจเอกชนและหวังว่าจะมีการลงทุนเพิ่ม เติมจากภาระดอกเบี้ยที่ถูกลง ในส่วนของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงอาจจะช่วยจูงใจให้เกิดการกู้เพื่อซื้อสินทรัพย์ ชิ้นใหญ่มากขึ้น เช่นบ้านและที่ดินรวมถึงการใช้จ่ายที่มากขึ้นจากเงินออมที่มีเพราะอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง


ปัญหาที่อาจทำให้การใช้มาตรการทางการเงินดังกล่าวไม่ได้ผลคือ ผู้บริโภคซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจเกิดความไม่มั่น ใจทำให้ไม่กล้าใช้จ่ายเงินแม้ว่าจะสามารถกู้ได้ที่ราคาถูก หากผู้บริโภคไม่ใช้จ่าย กิจกรรมต่อเนื่องที่จะช่วยให้เกิดการขยายตัวก็ไม่เกิด สิ่งที่รัฐบาลคาดหวังไว้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดผลไม่เต็มร้อย รัฐบาลอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมทางด้านอุปทานอย่างเช่นการลดภาษีให้กับภาค ธุรกิจโดยหวังว่าผู้ผลิตจะมีเงินสดมากขึ้นทำให้ช่วยลดการปลดคนงานนั้นอาจจะ ล้มเหลวก็ได้หากนายจ้างยังคงกังวลเพราะไม่มีผู้ซื้อ ทำให้เก็บเงินสดที่ได้เป็นสภาพคล่องสำรองมากกว่านำมาใช้จ่าย


แจกเงินให้กับผู้ที่ต้องใช้จริงๆ

วิธีการแก้ปํญหาในกรณีข้างต้นได้แก่ รัฐบาลจำต้องเข้ามาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายโดยตรง นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐในแง่ของการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภค (Infrastructure) แล้ว อีกวิธีหนึ่งง่ายๆที่รัฐบาลหลายๆประเทศกำลังดำเนินการอยู่รวมถึงไทยด้วย ได้แก่ การแจกเงินแบบให้เปล่ากับผู้ที่ตกงานไม่มีรายได้ หรือผู้ที่จะต้องใช้จ่ายเงินที่แจกไปแน่ๆ หรือจะให้ในรูปของการจ้างงานโดยรัฐบาล ซึ่งแน่นอนมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและนำไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้


อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ต้องระมัดระวังก็คือ การนำเงินดังกล่าวไปใช้ไม่ตรงกับจุดประสงค์รัฐบาลโดยเฉพาะการนำไปออมแทนที่ จะนำไปใช้จ่าย หากการให้เงินดังกล่าวของรัฐกระจัดกระจายมากเกินไป โดยมีการแจกเงินให้กับผู้ทีมีฐานะดีอยู่แล้วหรือผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ทางการเงิน มาตรการดังกล่าวอาจจะไม่ได้ผลก็ได้เนื่องจากเงินดังกล่าวแทนที่จะไปหมุน เวียนในระบบเศรษฐกิจ ก็จะไปสงบแน่นิ่งอยู่ในบัญชีออมทรัพย์แทน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำนอกเหนือจากการแจกเงินแล้ว ได้แก่ การกระตุ้นให้เกิดการนำเงินดังกล่าวที่ได้ไปใช้จ่ายจริง อาจจะอยู่ในรูปของการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับเงินเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการ ให้เงิน (ประมาณว่าช่วยใช้เงินเพื่อชาติ) หรือการให้แรงจูงใจในการใช้เงินจำนวนนี้ อาทิเช่น แทนที่จะให้เงินสด ก็ให้ในรูปของคูปองที่มีวันหมดอายุ หรือแม้แต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้เงินเสียใหม่สำหรับการแจกเงินคราว หน้า (ถ้ามี) ให้กับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ อย่างเช่น คนตกงาน บุคคลล้มละลาย ผู้ปกครองที่มีลูกหลายคน หรือแม้แต่ผู้ที่มีภาระผ่อนบ้านอยู่ เป็นต้น


แจกเงินให้กับผู้ที่จะใช้จ่ายสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (Buy Thailand) จริงๆ

สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง ได้แก่ เงินที่ประชาชนได้ดังกล่าวต้องถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายใน ประเทศจริงๆ กรณีเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นคือ เงินสดที่ได้ดังกล่าวแทนที่จะช่วยในการซื้อขายสินค้า Made In Thailand เพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจของไทย อาจจะกลับกลายเป็นว่าเงินดังกล่าวจะไหลไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอื่น แทน อย่างเช่น หากผู้ได้เงินนำเงินดังกล่าวไปซื้อสินค้านำเข้ามากขึ้น ประเทศจีนอาจจะได้รับอานิสงค์แทนหากคนไทยนำเงินดังกล่าวไปซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคราคาถูกจากประเทศจีน หรือนำเงินไปบริโภคน้ำมันจากประเทศตะวันออกกลางมากขึ้น ซึ่งผลก็คือ Multiplier Effect ที่คาดหวังสำหรับธุรกิจภายในประเทศอาจจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การชะลอการปลดคนงาน การจ้างงานเพิ่มหรือการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจอาจจะไม่เกิดขึ้น


ดังนั้น สิ่งที่ควรจะทำเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้น คือ รัฐบาลควรที่จะสร้างหรือเสาะหา (อย่างเร็ว) ถึงแหล่งสินค้าที่อาจจะใช้แทนสินค้านำเข้าได้ (ฟังดูเหมือนการกีดกันทางการค้า) หรือการแจกคูปองที่ระบุสินค้าที่สามารถซื้อได้จากแหล่งที่ระบุเฉพาะเจาะจง โดยเน้นสินค้าที่ผลิตในประเทศ อาทิเช่น ข้าวสารหรือผลไม้จากสหกรณ์ต่างๆ ร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น
•3/02/2552
ในปัจจุบันนี้ภาวะการลงทุนในตราสารทุนในปี 2551-ต้นปี 2552 คาดว่าจะมีความผันผวนสูงต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2550 จากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นใจของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และปัญหาสภาพคล่องที่ตึงตัวของสหรัฐฯที่มีผลมาจากเงินกู้ในภาคอสังหาริม ทรัพย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากปัจจัยด้านลบต่างๆ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ใช้นโยบายการลงทุนที่มีความระมัดระวังสูง โดยบริษัทได้ใช้การวิเคราะห์เศรษฐกิจ และหลักทรัพย์ทั้งภายใน และภายนอกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีฐานะทางการเงินที่ดี และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง


ในขณะเดียวกันก็มีการกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ที่จะมาช่วยในการลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ภายใต้ภาวะการลงทุนที่มีความผันผวนสูง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ปัจจัยกดดันต่างๆ ฝ่ายลงทุนมองเห็นโอกาสในการลงทุนในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง โดยผู้จัดการกองทุนได้ปรับนโยบายการบริหารกองทุนที่ค่อนข้าง Active เพื่อให้สอดคล้องกับความผันผวนของตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธการลงทุนที่บริษัทใช้มาตั้งแต่ปี 2550 และได้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก โดยผลตอบแทนในช่วงปี 2550 สูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ถึง 19%


กองทุนตราสารทุนที่อยู่ภายใต้การบริหาร และจัดการมีจำนวนหลายกองทุนด้วยกัน ในโอกาสนี้ ขอหยิบยกกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นทุนปันผล ( KTSF) มาแนะนำ เพราะเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนทั่วไป ที่รับความเสี่ยงได้ และมีความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้น แต่ไม่มีเวลาศึกษาหรือ ลงทุนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าวได้ โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ และขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันจันทร์ เป็นกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ในปี 2550 จ่ายปันผลทั้งสิ้น 3 ครั้ง จำนวนรวม 1.50 บาท ผลตอบแทน Year to date ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ -1.35% ในขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -2.59% นักลงทุนที่สนใจอาจจะหาจังหวะเข้าลงทุน เพราะในปีนี้ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
•3/02/2552
เกี่ยวกับความแตกต่างของกองทุน RMF – LTF

สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund :LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) ในแง่วัตถุประสงค์ของกองทุนอาจจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งกองทุน RMF นั้น มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว และให้ผู้ลงทุนออมเงินผ่านกองทุนรวมไว้ใช้ในวัยเกษียณ ขณะที่กองทุน LTF มีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดหุ้น ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุนรวม โดยมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวขึ้น...แต่หากพูดถึงจุดประสงค์เพื่อการออม แล้ว ทั้งสองกองนี้ไม่ต่างกันมากนัก และเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของ กองทุน RMF – LTF มากขึ้น จะขอตอบให้เห็นภาพมากขึ้น โดยแยกเป็นหัวข้อและตอบควบคู่กันไปทั้ง RMF – LTF

เงื่อนไข
RMF : ต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่ต่ำ กว่า 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และเมื่อ รวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่ เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้นๆ ด้วย โดยต้องมีการลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี แต่สามารถ ระงับการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ จะต้องมีปีในการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้อง ถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสีย ภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาย้อนหลัง 5 ปี
LTF : ลงทุนไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งไม่ต้องนับรวมกับการลงทุนหรือเงิน สะสมใดๆ ในแต่ละปี (ผู้ลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องซื้อหน่วยลงทุน ภายในปี 2559 เท่านั้น) โดยไม่มีเงื่อนไขให้ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจากเงินลงทุนที่ขายคืนนั้น

สิทธิประโยชน์
RMF : 1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
LTF : 1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน

นโยบาย
RMF : มีหลากหลายนโยบายให้เลือกเหมือนกองทุนรวมทั่วไป โดยสามารถลงทุนได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ หรือลงทุนแบบผสมทั้งหุ้นและตราสารหนี้
LTF : เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว จึงเป็นกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ฉะนั้นผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF นี้จะต้องยอมรับความเสี่ยงได้สูงด้วย

การขายคืนหน่วยลงทุน
RMF : สามารถขายคืนได้ทุกวันทำการ หรือตามวันที่กำหนดไว้ในโครงการโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
LTF : สามารถขายคืนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง ตามวันที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ